กีฬาตะกร้อ
วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560
วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559
ประวัติฟุตบอล ความเป็นมาของฟุตบอล
ประวัติฟุตบอล – ฟุตบอล (Football) หรือซอคเก้อร์ (Soccer) เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขันและเข้าร่วมเล่นมากที่สุดในโลก ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ซูเลอ” (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio) มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน ทั้งสองประเทศอาจจะถกเถียงกันว่ากีฬาฟุตบอลถือกำเนิดจากประเทศของตน อันเป็นการหาข้อยุติไม่ได้ เพราะขาดหลักฐานยืนยันอย่างแท้จริง ดังนั้น ประวัติของกีฬาฟุตบอลที่มีหลักฐานที่แท้จริงสามารถจะอ้างอิงได้ เพราะการเล่นที่มีกติกาการแข่งขันที่แน่นอน คือประเทศอังกฤษเพราะประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอลในปี พ.ศ. 2406 และฟุตบอลอาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431วิวัฒนาการด้านฟุตบอลจะเป็นไปพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ตลอดมา ต้นกำเนิดกีฬาตะวันออกไกลจะได้รับอิทธิพลมาจากสงครามครั้งสำคัญๆ เช่น สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้นำเอา “แกลโล-โรมัน” (Gello-Roman) พร้อมกีฬาต่างๆ เข้ามาสู่เมืองกอล (Gaul) อันเป็นรากฐานส่วนหนึ่งของกีฬาฟุตบอลในอนาคต และการเล่นฮาร์ปาสตัม (Harpastum) ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นกีฬาซูเลอ
วิวัฒนาการของฟุตบอล
ภาคตะวันออกไกลขงจื้อได้กล่าวไว้ในหนังสือ “กังฟู” เกี่ยวกับกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาที่ใช้เท้าและศีรษะในสมัยจักรพรรดิ์ เซิงติ (Emperor Cneng Ti) (ปี 32 ก่อนคริสตกาล) มีการเล่นกีฬาที่คล้ายกับฟุตบอลซึ่งเรียกว่า”ซือ-ซู” (Tsu-Chu) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกหนังด้วยเท้า กีฬาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ซึ่งนักประพันธ์และนักประวัติศาสตร์ในสมัยนั้นได้ยกย่องผู้เล่นที่มีชื่อเสียงให้เป็นวีรบุรุษของชาติ และในสมัยเดียวกันได้มีการเล่นคล้ายฟุตบอลในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย
ภาคตะวันออกกลาง
ในกรุงโรม ความเจริญของตะวันออกไกลได้แผ่ขยายถึงตะวันออกกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอิทธิพลของสงคราม โดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช การเล่นกีฬาชนิดหนึ่งเรียกว่า ฮาร์ปาสตัม เป็นกีฬาที่นิยมของชาวโรมันและชาวกรีกโบราณวิธีการเล่นคือ มีประตูคนละข้าง แล้วเตะลูกบอลไปยังจุดหมายที่ต้องการ เช่น จากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง การเล่นจะเป็นการเตะ หรือการขว้างไปข้างหน้าฮาร์ปาสตัม หมายถึงการเหวี่ยงไปข้างหน้า การเล่นกีฬาฮาร์ปาสตัมในกรุงโรมดูเหมือนจะเป็นต้นกำเนิดของกีฬาซึ่งมีการเล่นในสมัยกลาง
ในการเล่นฮาร์ปาสตัม ขนาดของสนามจะเล็กกว่าสนามกีฬาซูเลอ แต่จุดประสงค์ของกีฬาทั้งสองคือ การนำลูกบอล ไปยังแดนของตน แต่เนื่องจากมีเสียงอึกทึกโครมครามจากการวิ่งแย่งลูกบอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้มากมาย อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า จึงมีพระบรมราชโองการในนามของพระเจ้าแผ่นดินห้ามเล่นกีฬาดังกล่าวในเมือง ผู้ฝ่าฝืนมีโทษถึงจำคุก นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามซึ่งออกในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.1892 ขอให้เล่นยิงธนูในวันฉลองต่าง ๆ แทนการเล่นเกมฟุตบอล
ในโอกาสต่อมากีฬาฟุตบอลได้จัดให้มีการแข่งขันกันอีกครั้ง ซึ่งเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างทีมต่างๆ ที่อยู่ห่างกันประมาณ 3-4 ไมล์ ( 5-6.5 กิโลเมตร) ในปี พ.ศ. 2344 กีฬาชนิดนี้ได้ขัดเกลาให้ดีขึ้น มีการกำหนดจำนวนผู้เล่นให้เท่ากันในแต่ละข้าง ขนาดของสนามอยู่ในระหว่าง 80 – 100 หลา (73-91 เมตร) และมีประตูทั้งสองข้างที่ริมสุดของสนามซึ่งทำด้วยไม้ 2 อัน ห่างกัน 2-3 ฟุต
ในปี พ.ศ. 2366 ได้จัดให้มีการเล่นฟุตบอลในรูปแบบของการเล่นใน ปัจจุบัน William Alice คือผู้เริ่มวางกฎบังคับต่างๆ สำหรับกีฬาฟุตบอลและรักบี้ ในปี พ.ศ. 2393 ได้มีการออกระเบียบและกฎของการเล่นไปสู่ ดินแดนต่างๆ ให้ปฏิบัติตาม โดยจำกัดจำนวนผู้เล่นให้มีข้างละ 15-20 คน
ในปี พ.ศ. 2413 มีการกำหนดผู้เล่นให้เหลือข้างละ 11 คน โดยมีผู้เล่นกองหน้า 9 คน และผู้เล่นรักษาประตู 2 คน โดยผู้รักษาประตูใช้เท้าเล่นเหมือน 9 คนแรกจนกระทั่งให้เหลือผู้รักษาประตู 1 คน แต่อนุญาตให้ใช้มือจับลูกบอลได้ในปี พ.ศ. 2423
ในปี พ.ศ. 2400 สโมสรฟุตบอลได้ก่อตั้งเป็นครั้งแรกที่เมืองเซนพัสด์ประเทศอังกฤษ และต่อมาในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2406 สโมสรฟุตบอล 11 แห่งได้มารวมกันที่กรุงลอนดอนเพื่อก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น ซึ่งถือเป็นรากฐานในการกำเนิดสมาคมแห่งชาติ จนถึง 140 สมาคม และทำให้ผู้เล่นฟุตบอลต้องเล่นตามกฎและกติกาของสมาคมฟุตบอล จนเวลาผ่านไปจากคำว่า Association ก็ย่อเป็น Assoc และกลายเป็น Soccer ขึ้นในที่สุด ซึ่งนิยมเรียกกันในประเทศอังกฤษ แต่ชาวอเมริกันเรียกว่า Football หมายถึง American football
ภายนอกเกาะอังกฤษ พวกกะลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า วิศวกร หรือแม้แต่นักบวชได้นำกีฬาชนิดนี้ไปเผยแพร่ ประเทศเดนมาร์กเป็นประเทศที่ 2 ในยุโรป
ในอเมริกาใต้ สโมสรแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศอาร์เจนตินา เมื่อพี่น้องชาวอังกฤษ 2 คน ได้ลงข้อความโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของเมืองบูเอโนสไอเรส (Buenos Aires) เพื่อ หาผู้อาสาสมัคร ในปี พ.ศ. 2427 กีฬาฟุตบอลก็กลายมาเป็นวิชาหนึ่งในโรงเรียนของเมืองบูเอโนสไอเรส การแข่งขันระดับชาติครั้งแรกในทวีปอเมริกาใต้ คือ การแข่งขันระหว่างอาร์เจนตินากับอุรุกวัย ในปี พ.ศ.2448 แต่อเมริกาเหนือเริ่มแข่งขันเมื่อปี พ.ศ. 2435
ในอิตาลี ฮาร์ปาสตัมเป็นต้นกำเนิดจิโอโค เดล คาลซิโอ ผู้เล่นกีฬาจะเป็นผู้นำทางสังคม หรือแม้แต่ผู้นำชั้นสูงของศาสนา เช่นสันตปาปา เกลาเมนต์ที่ 7 ลีออนที่ 10 และเออร์เบนที่ 7 เป็นถึงแชมเปี้ยนในกีฬาฟลอเรนไทน์ฟุตบอล ต่อมาชาวโรมันได้ดัดแปลงเกมการเล่นฮาร์ปาสตัมเสียใหม่ โดยกำหนดให้ใช้เท้าแตะลูกบอลเท่านั้น ส่วนมือให้ใช้เฉพาะการทุ่มลูกบอล ซึ่งนักรบชาวโรมัน นิยมเล่นกันมาก
กีฬาฮาร์ปาสตัมซึ่งมีต้นกำเนิดจากสมัยโรมันได้ถูกแปลงมาเป็นกีฬาซูลอหรือซูเลอ กีฬาชนิดนี้เหมือนกับฮาร์ปาสตัม คือ นำลูกบอลกลับไปยังแดนของตน แต่สนามมีขนาดกว้างกว่ามาก
การเล่นซูเลอมักจะมีขึ้นในบ่ายวันอาทิตย์หลังการสวดมนต์เย็น จะมีการแข่งขันสำคัญในช่วงเวลาดีคาร์นิวาล กีฬาชนิดนี้เป็นที่นิยมมากในเขตปริตานีและมอร์ลังดี กีฬานี้ได้ถูกเผยแพร่ไปยังอังกฤษโดยผู้ติดตามของวิลเลี่ยมผู้พิชิตภายหลัง การรบที่เฮสติ้ง (Hasting)
เมื่อ 900 ปีกว่ามาแล้ว ประเทศอังกฤษได้ตกอยู่ในความปกครองของพวกเคนส์ เชื้อสายโรมัน ซึ่งยกกองทัพมาตีหมู่เกาะอังกฤษตอนใต้ และได้ปกครองเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 1589 อังกฤษเริ่มเข้มแข็งขึ้น และสามารถขับไล่พวกเคนส์ออกจากประเทศได้ หลังจากนั้น 2-3 ปี อังกฤษจึงเริ่มปรับปรุงประเทศเป็นการใหญ่ มีการขุดอุโมงค์ตามพื้นที่หลายแห่ง ซึ่งในการขุดอุโมงค์คนงานคนหนึ่งได้ขุดไปพบกะโหลกศีรษะในบริเวณที่เคยเป็นสนามรบ และเป็นที่ฝังศพของพวกเคนส์มาก่อนทุกคนในที่นั้นแน่ใจว่าเป็นกะโหลกศีรษะของพวกเคนส์ อารมณ์แค้นจึงเกิดขึ้นทันทีเมื่อต่างคนต่างคิดถึงเหตุการณ์ที่ถูกพวกเคนส์กดขี่ทารุณจิตใจคนอังกฤษในสมัยนั้นด้วยเหตุผลนี้ คนงานคนหนึ่งจึงเตะกะโหลกศีรษะนั้นทันที ส่วนคนอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้นก็พากันหยุดงานชั่วคราว แล้วหันมาเตะกะโหลกศีรษะเป็นการใหญ่ เพื่อระบายอารมณ์แค้นที่เก็บไว้อย่างสนุกสนาน ผลที่สุดเมื่อพวกนี้หากะโหลกศีรษะเตะกันไม่ได้ก็เอาถุงลมของวัวมาทำเป็นลูกกลมขึ้นเตะแทนกะโหลกศีรษะ ปรากฏว่าเป็นที่รื่นเริงสนุกสนามกันมาก ต่อมาชาวโรมันได้นำเกมนี้ไปเล่นในอังกฤษ จากนั้นชาวอังกฤษก็ได้ปรับปรุงวิธีการเล่น เทคนิคการเล่น ตลอดจนกติกาให้เหมือนในสมัยปัจจุบัน คือเกมฟุตบอลที่ใช้เท้าเล่น แต่ในระยะแรกของการเล่นฟุตบอลจะเล่นกันเป็นกลุ่มๆ เฉพาะพวกคนธรรมดาเท่านั้น ไม่มีการจำกัดจำนวนผู้เล่น ประตูจะห่างกันเป็นไมล์ และใช้เวลาในการเล่นหลายชั่วโมง จะเป็นการเล่นระหว่างทหารใหม่ที่ถูกเกณฑ์ นักบวช คนที่แต่งงานแล้ว คนโสด และพวกพ่อค้า เกมชนิดได้กลายเป็นสิ่งฉลองในงานพิธีต่างๆ เช่น ในวันโชรพ ทิวส์เดย์ (Shrove Tuesday) จะมีฟุตบอลนัดสำคัญให้คนได้ชม เกมในสมัยนั้นจะเล่นกันอย่างรุนแรงและมีการบาดเจ็บกันมาก
ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 1857 พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 2 ได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกา เนื่องจากมีเสียงอึกทึกครึกโครมจาการวิ่งแย่งลูกบอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุมากมาย อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า โดยห้ามเล่นกีฬาดังกล่าว ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุก
ฟุตบอลได้เริ่มแข่งขันภายใต้กฎของสมาคมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2412 ระหว่างทีมรัตเกอร์กับทีมบรินท์ตัน จากนั้นกิจการฟุตบอลได้เจริญขึ้นช้าๆ ในต่างจังหวัดจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการตั้งสมาคมฟุตบอลต่างจังหวัดขึ้นในปี พ.ศ. 2450 และมีการฝึกสอนในปี พ.ศ. 2484
ในทวีปเอเชีย
อินเดียเป็นประเทศแรกที่เริ่มเล่นฟุตบอล ศาสตราจารย์จากวิทยาลัยกัลกัตตา เป็นผู้นำสำเนากฎหมายการเล่นมาเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2426 และในปี พ.ศ. 2435 ได้มีการแข่งขันชิงถ้วยรางวัลเป็นครั้งแรก ในทวีปซึ่งยังไม่มีชื่อเสียงในด้านการเล่นฟุตบอล กีฬาชนิดนี้ก็ได้เริ่มมีการเล่นมาก่อนร่วมร้อยปีแล้ว เช่น สมาคมฟุตบอลแห่งนิวเซาท์เวลส์ ได้ถูกตั้งขึ้นในออสเตรเลีย ปี พ.ศ. 2425 และสมาคมฟุตบอลของนิวซีแลนด์ได้ถูกตั้งขึ้นหลังจากนั้น 9 ปี
ในแอฟริกา
สมาคมระดับชาติแห่งแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้ แต่อียิปต์เป็นประเทศแรกที่มีการแข่งขันระดับชาติในปี พ.ศ. 2467 คือ 3 ปี หลังจากที่ได้ก่อตั้งสมาคมขึ้น และอียิปต์สามารถเอาชนะฮังการีได้ 3-0 ในกีฬาโอลิมปิกที่ปารีส
การแข่งขันระดับชาติเป็นการแข่งขันระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2415 และในปีแรกของศตวรรษที่ 20 โดยประเทศยุโรปอื่นๆ อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2447 กลุ่มประเทศต่างๆ ในแถบนี้ได้ประชุมกันที่ปารีสเพื่อตั้งสมาคมฟุตบอลนานาชาติขึ้น ในครั้งแรกก่อนการจัดตั้งสหพันธ์ 20 วัน สเปนและเดนมาร์กไม่เคยร่วมการแข่งขันระดับชาติมาก่อน และ 3 ประเทศใน 7 ประเทศที่เข้าร่วมประชุมยังไม่มีสมาคมฟุตบอลในชาติของตน แต่ฟีฟ่าก็แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยมา โดยมีสมาชิก 5 ชาติ ในปี พ.ศ. 2481 และ 73 ชาติ ในปี พ.ศ. 2493 และในปัจจุบันมีสมาชิกถึง 146 ประเทศ ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของฟีฟ่า ทำให้ฟีฟ่าเป็นองค์การกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลก
สมาพันธ์ประจำทวีปของสมาคมฟุตบอลแห่งแรกที่ตั้งขึ้นคือ Conmebol ซึ่งเป็นสมาพันธ์ของอเมริกาใต้ สมาพันธ์นี้ได้ถูกจัดขึ้นเพื่อจัดตั้งเพื่อจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศภายในทวีปอเมริกาใต้ ในปี พ.ศ. 2460 เกือบครึ่งศตวรรษ ต่อมาเมื่การแข่งขันภายในทวีปได้แพร่หลายมากขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งสมาพันธ์ในทวีปอื่นๆ ขึ้นอีกคือสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งในทวีปเอเชีย และ 2 ปี ก่อนการจัดตั้งสมาคมฟุตบอลยุโรป ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา (Concacaf)หรือสหพันธ์ฟุตบอลแห่งอเมริกากลาง อเมริกาเหนือ และแคริบเบี้ยน ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 และน้องใหม่ในวงการฟุตบอลโลกคือ สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งโอเชียนเนีย (Oceannir)
สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ
สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (Federation International Football Association FIFA) ก่อตั้งขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2447 โดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศฝรั่งเศส และประเทศที่เข้าร่วมก่อตั้ง 7 ประเทศคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์สมาพันธ์ฟุตบอลที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ
1.) Africa (C.A.F.) เป็นเขตที่มีสมาชิกมากที่สุด ได้แก่ ประเทศแอลจีเรีย ตูนิเซีย แซร์ ไนจีเรีย และซูดาน เป็นต้น
2.) America-North and Central Caribbean (Concacaf) ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก คิวบา เอติ เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา และฮอนดูรัส เป็นต้น
3.) South America (Conmebol) ได้แก่ ประเทศเปรู บราซิล อุรุกวัย โบลิเวีย อาร์เจนตินา ชิลี เวเนซุเอลา อีคิวเตอร์ และโคลัมเบีย เป็นต้น
4.) Asia (A.F.C.) เป็นเขตที่มีสมาชิกรองจากแอฟริกา ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง เลบานอน อิสราเอล อิหร่าน จอร์แดน และเนปาล เป็นต้น
5.) Europe (U.E.F.A.) เป็นเขตที่มีการพัฒนามากที่สุด ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฮังการี อิตาลี สกอตแลนด์ รัสเซีย สวีเดน สเปน และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น
6.) Oceania เป็นเขตที่มีสมาชิกน้อยที่สุดและเพิ่งจะได้รับการแบ่งแยก ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิจิ และปาปัวนิวกินี เป็นต้น ซึ่งประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกต้องเสียค่าบำรุงเป็นรายปี ปีละ 300 ฟรังสวิสส์ หรือประมาณ 2,400 บาท
สหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย
ในทวีปเอเชียมีการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเอเชีย (A.F.C.) เพื่อดำเนินการด้านฟุตบอล ดังนี้
- พ.ศ. 2495 มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยมีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากประเทศในเอเชียเข้ามาร่วมการแข่งขันด้วย จึงได้ปรึกษาหารือกันในการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียขึ้น
- พ.ศ. 2497 มีการแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ก็ได้เริ่มตั้งคณะกรรมการจากชาติต่างๆ ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก 12 ประเทศ
- พ.ศ. 2501 มีการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก และมีประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิกรวมเป็น 35 ประเทศ
- พ.ศ. 2509 ฟีฟ่าได้มองเห็นความสำคัญของ A.F.C. จึงได้กำหนดให้มีเลขานุการประจำในเอเชีย โดยออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด รวมทั้งเงินเดือน และคนแรกที่ได้รับตำแหน่งคือ Khow Eve Turk
- พ.ศ. 2517 ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่เตหะราน ประเทศอิหร่านได้มีการประชุมประเทศสมาชิก A.F.C. และที่ประชุมได้ลงมติขับไล่อิสราเอล ออกจากสมาชิก และให้จีนแดงเข้าเป็นสมาชิกแทน ทั้งๆ ที่จีนแดงไม่ได้เป็นสมาชิกของฟีฟ่า นับว่าเป็นการสร้างเหตุการณ์ที่ประหลาดใจให้กับบุคคลทั่วไปเป็นอย่างมากทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลทางการเมือง
- พ.ศ. 2519 มีการประชุมกันที่ประเทศมาเลเซีย ปรากฏว่าประเทศสมาชิกได้ลงมติให้ขับไล่ประเทศไต้หวันออกจากสมาชิก และให้รับจีนแดงเข้ามาเป็นสมาชิกแทน ทั้งๆ ที่ไต้หวันเป็นประเทศที่ร่วมกันก่อตั้งสหพันธ์ขึ้นมา
– ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Asian Cup
– ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Asian Youth
– ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุมฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
– ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Pre-Olympic
– ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม World Youth
– ควบคุมการแข่งขัน Kings Cup, President Cup, Merdeka, Djakarta Cup
นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากฟีฟ่าจัดส่งวิทยากรมาช่วยดำเนินการ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ wikipedia
สรุปวิวัฒนาการของฟุตบอล
ก่อนคริสตกาล – อ้างถึงการเล่นเกมซึ่งเปรียบเสมือนต้นฉบับของกีฬาฟุตบอลที่เก่าแก่ที่ได้มีการค้นพบจากการเขียนภาษาญี่ปุ่น-จีน และในสมัยวรรณคดีของกรีกและโรมันยุคกลาง – ประวัติบันทึกการเล่นในเกาะอังกฤษ อิตาลี และฝรั่งเศส
- ปี พ.ศ. 1857 – พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 3 ทรงออกพระราชกฤษฎีกาห้ามเล่นฟุตบอล เพราะจะรบกวนการยิงธนู
- ปี พ.ศ. 2104 – Richardo Custor อาจารย์สอนหนังสือชาวอังกฤษกล่าวถึงการเล่นว่า ควรกำหนดไว้ในบทเรียนของเยาวชน โดยได้รับอิทธิพลจาการเล่นกาลซิโอในเมืองฟลอเร้นท์
- ปี พ.ศ. 2123 -Riovanni Party ได้จัดพิมพ์กติการการเล่นคาลซิโอ
- ปี พ.ศ. 2223 -ฟุตบอลในประเทศอังกฤษได้รับพระบรมราชานุเคราะห์จากพระเจ้ชาร์ลที่ 2
- ปี พ.ศ. 2391 -ได้มีการเขียนกฎข้อบังคับเคมบริดจ์ขึ้นเป็นครั้งแรก
- ปี พ.ศ. 2406 -ได้มีการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น
- ปี พ.ศ. 2426 -สมาคมฟุตบอลจักรภพ 4 แห่ง ยอมรับองค์กรควบคุม และจัดตั้งกรรมการระหว่างชาติ
- ปี พ.ศ. 2429 -สมาคมฟุตบอลเริ่มทำการฝึกเจ้าหน้าที่ที่จัดการแข่งขัน
- ปี พ.ศ. 2431 -เริ่มเปิดการแข่งขันฟุตบอลลีก โดยยินยอมให้มีนักฟุตบอลอาชีพ และเพิ่มอำนาจการควบคุมให้ผู้ตัดสิน
- ปี พ.ศ. 2432 -สมาคมฟุตบอลส่งทีมไปแข่งขันในต่างประเทศ เช่น เยอรมันไปเยือนอังกฤษ
- ปี พ.ศ. 2447 – ก่อตั้งฟีฟ่า ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงปารีส เมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 โดยสมาคมแห่งชาติคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์
- ปี พ.ศ. 2480 – 2481 -ข้อบังคับปัจจุบันเขียนขึ้นตามระบบใหม่ขององค์กรควบคุม โดยใช้ข้อบังคับเก่ามาเป็นแนวทาง
กฎกติฬาการเล่นฟุตบอล
- สนาม เป็นสนามหญ้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างต่ำสุด 50 หลา สูงสุด 100 หลา ความยาวต่ำสุด 100 หลา สูงสุด 130 หลา
- เครื่องหมายในสนาม เกิดจากเส้นต่าง ๆ โดยในแต่ละเส้นจะมีความกว้างไม่เกิน 5 นิ้ว ทำเป็นสัญลักษณ์ในสนาม ได้แก่
- เส้นเขตสนาม อยู่รอบเขตสนาม ส่วนที่สั้นเรียก เส้นประตู ส่วนที่ยาวเรียก เส้นข้าง
- เส้นแบ่งเขตแดน แบ่งสนามตามขวางเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน
- จุดกึ่งกลางสนาม อยู่กึ่งกลางเส้นแบ่งเขตแดน มีวงกลมรัศมี 10 หลาล้อมรอบจุดไว้
- เส้นประตู เชื่อมระหว่างโคนเสาประตูทั้ง 2 ฝั่ง
- เขตประตู คือพื้นที่ที่เกิดจากการลากเส้นจากเสาประตูทั้ง 2 ฝั่งตั้งฉากกับเส้นประตู เข้าหาสนามยาว 6 หลา แล้วเชื่อมด้วยเส้นตรง
- เขตโทษ คือพื้นที่ที่เกิดจากการลากเส้นจากเสาประตูทั้ง 2 ฝั่งขนานกับเส้นประตู ออกจากประตูยาว 16.5 เมตร แล้วลากเส้นตั้งฉากกับเส้นประตู เข้าหาสนามยาว 16.5 เมตร แล้วเชื่อมด้วยเส้นตรง
- จุดโทษ อยู่ในเขตโทษ ห่างจากเสาประตู 12 หลา มีการเขียนส่วนโค้งนอกเขตโทษ รัศมีห่างจากจุดโทษ 10 หลา
- ประตู มีสีขาว ระยะห่างระหว่างเสาประตู 8 หลา คานสูงจากพื้น 8 ฟุต มีการติดตาข่ายรองรับลูก
- มุมธง อยู่ทั้ง 4 มุมของสนาม รัศมี 1 หลา
- เสาธง เป็นจุดศูนย์กลางของมุมธง ไว้แสดงเขตในการเตะมุม สูงไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร ยอดไม่แหลม ผูกธงไว้ที่ยอด
กฎข้อที่ 2: ลูกฟุตบอล
- เป็นทรงกลม ทำจากหนัง หรือวัสดุอื่นๆ ตามความเหมาะสมที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้เล่น เป็นฟุตบอลเบอร์ 5 มีเส้นรอบวงประมาณ 68-70 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 410-450 กรัม
กฎข้อที่ 3: จำนวนผู้เล่น
ประกอบด้วยทีม 2 ทีม และแต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นตัวจริงและตัวสำรอง ผู้เล่นตัวจริงจะเป็นผู้เล่นชุดแรกที่ลงสนาม ส่วนผู้เล่นตัวสำรองมีไว้เพื่อสับเปลี่ยนกับผู้เล่นตัวจริงในกรณีที่ผู้เล่นตัวจริงไม่สามารถเล่นได้หรือกรณีอื่นๆ ตามความเหมาะสมหรือตามแต่ดุลยพินิจของผู้จัดการทีม ( โดยการแข่งขันเพื่อจุดประสงค์ในการคว้าแชมป์จะเปลี่ยนได้ 3 คนเท่านั้น แต่ถ้าเป็นการแข่งขันกระชับมิตรหรือเฉลิมฉลองสร้างความสัมพันธ์จะมีการเปลี่ยนตัวไม่จำกัด ) ผู้เล่นตัวจริงที่ลงสนามต้องมีไม่ต่ำกว่า 7 คน และไม่เกิน11คน และหนึ่งในนั้นจะต้องมีผู้เล่นตำแหน่งผู้รักษาประตู 1 คน, ตัวสำรองสามารถมีได้ไม่เกิน 7 คน ถ้าเป็นการแข่งทั่วไป หรือเชื่อมความสัมพันธ์ สามารถกำหนดจำนวนตัวสำรองได้ โดยต้องแจ้งให้กรรมการทราบก่อนการแข่งขันกฎข้อที่ 4: อุปกรณ์การเล่น
ลูกฟุตบอล (ตามกฎข้อ 2) ใช้สำหรับเล่น 1 ลูก และ เครื่องแบบของนักกีฬา ทีมทั้ง 2 ทีมที่ลงแข่งขัน สมาชิกทุกคนในทีมยกเว้นผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งขันสีเดียวกัน และทั้ง 2 ทีมจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีตัดกันอย่างชัดเจน จะใส่ชุดที่มีโทนสีคล้ายกันไม่ได้ (เช่น ทีมหนึ่งใสชุดแข่งสีขาว อีกทีมหนึ่งใส่ชุดแข่งสีเหลือง) ผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีไม่ซ้ำกับผู้เล่นทั้ง 2 ทีม และนักกีฬาที่ทำการแข่งขันจะต้องใส่รองเท้า (ในปัจจุบันไม่อนุญาตให้นักกีฬาใช้เท้าเปล่าในการเล่น)กฎข้อที่ 5: ผู้ตัดสิน (ฟุตบอล)
โดยกรรมการจะมีหน้าที่ดังต่อไปนี้- ปฏิบัติตามกติกาข้อ ควบคุมการแข่งขันโดยมีผู้ช่วยผู้ตัดสิน กรรมการผู้ตัดสินคนที่ 4 คอยให้ความร่วมมือช่วยเหลือตามความเหมาะสม
- แน่ใจว่าลูกบอลทุกลูกทีใช้ในการแข่งขันถูกต้องตามข้อกำหนดของกติกาข้อ 2
- แน่ใจว่าอุปกรณ์ของผู้เล่นถูกต้องตามข้อกำหนดของกติกาข้อ 4
- ทำหน้าที่รักษาเวลาการแข่งขัน และเขียนรายงานการแข่งขัน
- พิจารณาการสั่งหยุดการเล่น หยุดการเล่นชั่วคราว หรือยุติการแข่งขัน (Suspends or Terminate the Match) ทุกกรณีของการกระทำผิดกติกาการแข่งขัน
- พิจารณาการสั่งหยุดการเล่น หยุดการเล่นชั่วคราว หรือยุติการแข่งขัน เนื่องจากมีสิ่งรบกวนจากภายนอกทุกชนิดทำการรบกวนการแข่งขัน
- สั่งหยุดการเล่นถ้าดุลยพินิจของเขาเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บหนักและแน่ใจว่าเคลื่อนย้าออกจากสนามแข่งขันไปแล้ว ผู้เล่นที่บาดเจ็บนั้นจะกลับเข้าไปในสนามแข่งได้อีกเอภายหลังการเริ่มเล่นใหม่ได้เริ่มเล่นไปแล้ว.
- อนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไปจนกว่าลูกบอลจะอยู่นอกการเล่นถ้าเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย
- แน่ใจว่าผู้เล่นที่มีเลือดไหลออกจากบาดแผลได้ออกจากสนามแข่นขันแล้ว และผู้เล่นนั้นจะกลับไปเล่นใหม่ได้เมื่อได้รับสัญญาณจากผู้ตัดสิน ซึ่งต้องพึงพอใจแล้วว่าเลือดที่ไหลออกมานั้นได้หยุดแล้ว
- อนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไปเมื่อทีมที่ถูกกระทำผิดจะเกิดประโยชน์จากการได้เปรียบ และถ้าการคาดคะเนในการให้ได้เปรียบนั้นไม่เป็นตามที่คาดไว้ในขณะนั้น กาจะลงโทษตามความผิดที่เกิดขึ้นแต่แรกนั้น
- ลงโทษความผิดที่ร้ายแรงกว่าในกรณีที่ผู้เล่นทำผิดมากกว่า 1 อย่าง ภายในเวลาเดียวกัน
- ควบคุมระเบียบวินัยโดยแสดงการต่อต้านต่อผู้เล่นที่กระทำผิดต้องได้รับการคาดโทษ และการให้ออกจาการแข่งขัน เขาไม่ได้ถูกบังคับว่าต้องกระทำในทันทีทันใด แต่ต้องทำทันทีลูกบอลอยู่นอกการเล่นแล้ว
- ทำหน้าที่แสดงการต่อต้านเจ้าหน้าที่ทีมที่ขาดความรับผิดชอบในการควบคุมการประพฤติปฏิบัติตนเองที่ดี และเขาอาจพิจารณาให้อกจากสนามแข่งขันและบริเวณแวดล้อมในทันที
- ปฏิบัติตามการช่วยเหลือของผู้ช่วยผู้ตัดสินตามเหตุการณ์ที่ตนเองมองไม่เห็น
- แน่ใจว่าไม่มีบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในสนามแข่งขัน
- ให้ทำการเริ่มเล่นได้หยุดลง
- เขียนรายงานการแข่งขันเสนอต่อผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ที่ได้แต่งตั้งไว้ ซึ่งรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการควบคุมระเบียบทุกอย่างที่กระทำต่อผู้เล่นและ /หรือเจ้าหน้าที่ทีมและเหตุการณ์ณ์อื่น ๆ ทักกรณีที่เกิดขึ้นก่อนการแข่งขัน ระหว่างการแข่งขัน หรือภายหลังการแข่งขัน
- ผู้ตัดสินจะมีสิทธิ์ให้ใบเหลืองหรือใบแดงตามความเหมาะสมต่อเมื่อผู้เล่นทำผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามรุนแรงหรือแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ตัดสินโดยตรงหรือกรณีอื่นๆแต่อย่างใด
กฎข้อที่ 6: ผู้ช่วยกรรมการ
ผู้ช่วยผู้ตัดสินมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ตัดสินในการควบคุมการแข่งขันให้เป็นไปตามกติกาการแข่งขัน และในกรณีพิเศษผู้ช่วยผู้ตัดสินอาจเข้าไปในสนามได้เพื่อช่วยควบคุมระยะ 9.15 เมตร ถ้าผู้ช่วยผู้ตัดสินเข้าไปเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตัดสินเกินสมควร หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมผู้ตัดสินสามารถปลดเขาออกจากหน้าที่ และเขียนรายงานเสนอต่อผู้มีอำนาจหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งไว้กฎข้อที่ 7: ระยะเวลาการแข่งขัน
ช่วงเวลาของการแข่งขัน (Periods of Play) การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ครึ่งเวลา ๆ ละ 45 นาทีเท่ากัน การรักษาเวลาเป็นหน้าที่ของผู้รักษาเวลา ซึ่งมีหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกติกาข้อ 7 ระยะเวลาของการแข่งขันแต่ละครึ่งเวลา อาจจะมีการเพิ่มการเตะโทษ ณ จุดโทษเวลานอก (Time-out) ทั้งสองทีมมีสิทธิ์ขอเวลานอกเป็นระยะเวลา 1 นาที ได้ในแต่ละครึ่งเวลา ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ผู้ฝึกสอนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ในการขอเวลานอก 1 นาที จากผู้รักษาเวลา
2. การขอเวลานอก 1 สามารถร้องขอได้ตลอดเวลา แต่จะให้เวลานอก ก็ต่อเมื่อทีมได้เป็นฝ่ายครอบครองบอล (ส่งลูกบอลเข้าเล่น)
3. ผู้รักษาเวลาต้องแสดงการอนุญาตสำหรับการขอเวลานอกของทีม เมื่อลูกบอลอยู่นอกการเล่นโดยการใช้เสียงสัญญาณอื่น ๆ ที่แตกต่างจากเสียงสัญญาณนกหวีดของผู้ตัดสินที่ใช้อยู่
4. เมื่ออนุญาตให้เป็นเวลานอก ผู้เล่นทุกคนต้องรวมกันอยู่ในสนามแข่งขัน ถ้าต้องได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ทีม จะกระทำได้เฉพาะที่เส้นข้างบริเวณด้านหน้าที่นั่งสำรองของทีมตนเอง ผู้เล่นทุกคนต้องไม่ออกไปนอกสนามแข่งขัน เช่นเดียวกันกับเจ้าหน้าที่ทีมที่ต้องให้คำแนะนำจะต้องไม่เข้าไปในสนามแข่งขัน
5. ถ้าทีมไม่ใช่สิทธิ์ในการขอเวลานอกในครึ่งเวลาแรก จะไม่สามารถนำไปทดแทนในครึ่งเวลาหลังได้ พักครึ่งเวลา (Half - time Interval) การพักครึ่งเวลาต้องไม่เกิน 15 นาที
ข้อตกลง (Decisions)
1. ถ้าไม่มีผู้รักษาเวลา ผู้ฝึกสอนต้องร้องขอเวลานอกได้จากผู้ตัดสิน
2. ถ้าระเบียบการแข่งขันระบุให้มีการต่อเวลาพิเศษ ในกรณีที่การแข่งขันในเวลาปกติ ถ้าผลการแข่งขันจบลงด้วยการเสมอกัน การแข่งขันในระหว่างการต่อเวลาพิเศษของการแข่งขัน จะไม่มีการขอเวลานอก
กฎข้อที่ 8: การเริ่มต้นการแข่งขัน
1.เมื่อเริ่มเล่น ในการที่จะเลือกแดนหรือเลือกเตะเริ่มเล่นก่อน ให้ตัดสินโดยการเสี่ยงเหรียญ (โยนหัว-ก้อย) ฝ่ายที่ชนะการเสี่ยงเป็นผู้มีสิทธิ์ในการเลือกแดนหรือเลือกเตะ2.เมื่อได้ประตู การเล่นต้องเริ่มต้นใหม่ ในทำนองเดียวกัน โดยผู้เล่นคนหนึ่งของฝ่ายที่เสียประตู เป็นผู้เตะเริ่มเล่น
3.เมื่อหมดครึ่งเวลา การตั้งต้นเล่นใหม่หลังจากได้หยุดพักระหว่างครึ่งเวลาแล้ว ให้เปลี่ยนแดนและให้ผู้เล่นคนหนึ่งของชุดฝ่ายตรงข้ามที่มิได้เตะเริ่มเล่นในตอนแรก เป็นผู้เตะเริ่มเล่น
กฎข้อที่ 9: บอลออกนอกสนาม
ลูกบอลจะอยู่นอกการเล่นเมื่อ1.ลูกบอลได้ผ่านเส้นประตูหรือเส้นข้างไม่ว่าจะเป็นบนพื้นดินหรือในอากาศออกไปทั้งลูก
2.ผู้ตัดสินสั่งหยุดการเล่นลูกบอลอยู่ในการเล่น (Ball In Play) ลูกบอลอยู่ในการเล่นตลอดเวลารวมทั้งในขณะที่กระดอนจากเสาประตู คานประตู หรือธงมุมสนาม และเข้ามาในสนามแข่งขัน
กฎข้อที่ 10: วิธีนับคะแนน
ถ้าลูกฟุตบอลลอยข้ามเส้นประตูเต็มใบ โดยการเล่นลูกที่ถูกกติกา (ได้แก่การใช้เท้าหรือศีรษะ) ถือว่าได้ 1 คะแนน (ในภาษาฟุตบอลเรียกว่า 1 ประตู) อย่างไรก็ดี มักมีคนเข้าใจผิดว่าการได้คะแนน คือ การที่ลูกบอลสัมผัสกับตาข่ายหลังเส้นประตู ซึ่งจริงๆ แล้วตาข่ายไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกติกาฟุตบอล มีไว้เพื่อรองรับลูกบอลที่เข้าประตูแล้วเท่านั้นกฎข้อที่ 11: การล้ำหน้า
1.ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า ถ้าเขาอยู่ใกล้เส้นประตูของคู่ต่อสู้กว่าลูกบอล2.ผู้เล่นจะถูกตัดสินให้เป็นเล่นล้ำหน้าและจะถูกลงโทษ ถ้าผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่าขณะที่ลูกโดนหรือลูกเล่นโดยผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน
3.ผู้เล่นจะยังไม่ถูกตัดสินว่าล้ำหน้า ถ้า
-เขาเพียงแต่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าเท่านั้น หรือ
-เขาได้รับลูกโดยตรงจากการเตะจากประตู การทุ่มจากเส้นข้าง การเตะจากมุม หรือ การปล่อยลูกจากมือโดยผู้ตัดสิน
-ถ้าผู้เล่นถูกตัดสินให้เป็นเล่นล้ำหน้า ผู้ตัดสินจะให้คู่ต่อสู้ได้เตะโทษโดยอ้อม ณ ที่ซึ่งการละเมิดกติกาได้เกิดขึ้น
กฎข้อที่ 12: ฟาวล์
ผู้เล่นคนใดเจตนากระทำผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 9 ข้อ ดังต่อไปนี้1.แตะ หรือ พยายามจะเตะคู่ต่อสู้
2.ขัดขาคู่ต่อสู้ คือทำหรือพยายามจะทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงด้วยการใช้ขา หรือด้วยการหมอบลงข้างหน้าหรือข้างหลัง
3.กระโดดเข้าหาคู่ต่อสู้
4.ชนคู่ต่อสู้อย่างรุนแรง
5.ชนคู่ต่อสู้ข้างหลัง นอกจากคู่ต่อสู้นั้นเจตนากีดกัน
6.ทำร้าย หรือพยายามจะทำร้ายคู่ต่อสู้ หรือถ่มน้ำลายรดคู่ต่อสู้
7.ฉุด ดึง คู่ต่อสู้
8.ผลัก ดัน คู่ต่อสู้
9.เล่นด้วยมือ คือ ทุบ ต่อย ปัด เตะลูกด้วยมือ หรือแขน
กฎข้อที่ 13: ฟรีคิก
การเตะฟรีคิกจะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทำฟาวล์หรือล้ำหน้าตั้งแต่จุดที่ทำฟาวล์หรือตำแหน่งล้ำหน้า โดยจะผู้เล่นตั้งเตะลูกฟรีคิกตรงจุดที่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทำฟาวล์หรือตำแหน่งล้ำหน้ากฎข้อที่ 14: ลูกโทษหรือการยิงจุดโทษ
การยิงจุดโทษในเวลาการแข่งขันจะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทำฟาวล์ตั้งแต่ในเขตโทษ การยิงลูกโทษจะเป็นการให้ผู้เล่นยิงดวลตัวต่อตัวกับผู้รักษาประตูโดยที่ผู้เล่นคนอื่นที่ไม่ได้มีหน้าที่ยิงจุดโทษหรือไม่ใช่ผู้รักษาประตูที่จะต้องเซฟจุดโทษจะต้องอยู่บริเวณนอกเขตโทษจนกว่าผู้เล่นที่ยิงจุดโทษจะยิงประตูผู้เล่นคนอื่นจึงจะมีสิทธิ์วิ่งในเขตโทษได้เมื่อต่อเวลาพิเศษ30นาทีแล้วไม่มีทีมทำประตูได้หรือเสมอจะทำการยิงลูกที่จุดโทษ โดยจะใช้ผู้เล่นยิงสลับกันฝั่งละ5คนเมื่อยิงครบแล้วยังหาผู้ชนะไม่ได้ก็จะยิงต่อไปจนมีผู้ชนะ โดยการยิงลูกจุดโทษนั้นเป็นวิธีสุดท้ายที่หาทีมชนะ
กฎข้อที่ 15: การทุ่ม
การทุ่ม ขณะแข่งขันลูกฟุตบอลได้ออกเส้นข้างไปทั้งลูก ไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปบนอากาศก็ตาม ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายได้ทุ่ม-เท้าทั้งสองข้างต้องติดพื้นตลอดเวลาการทุ่ม
- ต้องทุ่มด้วยมือทั้งสอง ลูกบอลออกจากด้านหลังศีรษะ แขนทั้งสอง " ต้องผ่านศีรษะไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง "
- ด้านหน้าของร่างกายหันหน้าเข้าหาสนามด้านไหนให้ทุ่มไปทางนั้น
- ย่อทุ่มได้ แต่ห้ามนั่งทุ่ม
- บอลออกเส้นข้าง ณ จุดใด ให้ทุ่ม ณ จุดนั้น
- ณ จุดที่มือปล่อยบอล เท้าหรือตัวของผู้ทุ่ม ห้ามห่างจากเส้นข้างเกิน หนึ่งเมตร
- ฝ่ายรับต้องยืนห่างจากผู้ทุ่ม ในสนามแข่งขัน อย่างน้อย ๒ เมตร
- ทุ่มทีเดียว โดยไม่สัมผัสผู้เล่นฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ไม่ถือว่าเป็นประตู
- รับบอลจากการทุ่ม ไม่มีการล้ำหน้า
- ทุ่มบอลคืนให้ผู้รักษาประตู ผู้รักษาประตูใช้มือรับ ให้เตะลูกโทษโดยอ้อม ณ จุดเกิดเหตุ ทันที
กฎข้อที่ 16: โกลคิก
คือ ลูกตั้งเตะจากเขตประตู โดยเมื่อลูกทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูออกไปนอกสนาม นอกจากจะผ่านไปในระหว่างเสาประตูไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปในอากาศก็ตาม โดยฝ่ายรุกเป็นผู้ถูกลูกนั้นเป็นครั้งสุดท้าย ให้ผู้รักษาประตูเตะจากในกรอบเขตประตูกฎข้อที่ 17: การเตะมุม
เมื่อลูกทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูออกไปนอกสนาม นอกจากจะผ่านไปในระหว่างเสาประตูไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปในอากาศก็ตาม โดยฝ่ายรับเป็นผู้ถูกลูกนั้นเป็นครั้งสุดท้าย ให้ฝ่ายรุกนำลูกไปวางเตะภายในเขตมุม ณ ธงมุมใกล้กับที่ลูกได้ออกไปและต้องไม่ทำให้คันธงเคลื่อนที่ ในการเตะจากมุมนี้ ถ้าเตะทีเดียวลูกตรงเข้าประตูให้นับว่าได้ประตู ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกับผู้เตะจากมุมนั้นจะเข้ามาอยู่ใกล้ลูกในขณะที่ผู้เตะกำลังจะเตะลูกน้อยกว่า 10 หลา ไม่ได้เว้นเสียแต่ผู้เตะจะได้เตะให้ลูกไปได้ไกลอย่างน้อยเท่ากับระยะรอบวงของลูกจึงจะเล่นต่อไปได้ จะเล่นลูกนั้นซ้ำอีกไม่ได้จนกว่าลูกนั้นจะได้ถูกหรือเล่นโดยผู้เล่นคนใดคนหนึ่งเสียก่อนมารยาทผู้เล่นและผู้ชม
มารยาทของผู้เล่นและผู้ชมฟุตบอล
กีฬาฟุตบอลนั้นก็ต้องมีหลักเกณฑ์ในการชมและการเล่นฟุตบอลเหมือนกับการชมการแสดงอื่นๆที่จะต้องมีข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์เพื่อให้ทุกคนนั้นเคารพและทำเหมือนกันเพราะทุกคนนั้นมีสิทธิ์เท่าเทียมกันไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม กฎเกณฑ์ของการผู้เล่นและผู้ชมที่ควรรู้แบบคราวๆนั้นที่อาจจะใช้ได้โดยทั่วไป คือ
1.มารยาทของผู้เล่น
1.1ต้องเคารพกรรมการ
1.2ต้องเคารพผู้เล่นฝังตรงข้าม
1.3ต้องมีน้ำใจ
1.4ต้องเคารพสิทธิ์ของผู้อื่น
มารยาทของผู้เล่นอาจจะมีอย่างที่ยกตัวอย่างให้นั้น พวกเราชาวแทงบอลชุดก็สามารถนำไปใช้ได้เพื่อมีการแข่งขันกีฬาที่โรงเรียน หรือ ตารมชุมชน ต่างๆ ที่เขาจัดขึ้นเพื่อเยาวชนถ้าผู้เล่นนั้นทำตามมารยาทเหล่านี้ได้ก็ถือว่าผู้เล่นนั้นมีความสมัครใจจริงและรักในกีฬานั้นจริง
1.มารยาทของผู้เล่น
1.1ต้องเคารพกรรมการ
1.2ต้องเคารพผู้เล่นฝังตรงข้าม
1.3ต้องมีน้ำใจ
1.4ต้องเคารพสิทธิ์ของผู้อื่น
มารยาทของผู้เล่นอาจจะมีอย่างที่ยกตัวอย่างให้นั้น พวกเราชาวแทงบอลชุดก็สามารถนำไปใช้ได้เพื่อมีการแข่งขันกีฬาที่โรงเรียน หรือ ตารมชุมชน ต่างๆ ที่เขาจัดขึ้นเพื่อเยาวชนถ้าผู้เล่นนั้นทำตามมารยาทเหล่านี้ได้ก็ถือว่าผู้เล่นนั้นมีความสมัครใจจริงและรักในกีฬานั้นจริง
2มารยาทของผู้ชม
2.1เคารพคณะกรรมการ
2.2ให้เกียรติผู้เล่นในสนาม
2.3ให้เกียรติผู้ชมด้วย
2.4ควรดูด้วยความเพลิดเพลิน
2.5ไม่ควรด่าท้อทีมที่ไม่ชอบ
2.6เคารพกฎในสนาม
มารยาทของผู้ชมนั้นยังมีอีกมากมายแต่เรานั้นนำมารยาทบ้างสิ่งที่ผู้ชมควรรู้และทราบมาให้เพื่อความเป็นกันเองของผู้ชมและผู้เล่นที่มีให้ต่อกันนั้น จะเป็นสิ่งที่ดี เพื่อผู้ชมนั้นเคารพผู้เล่น ผู้เล่นก็จะเคารพผู้ชมเหมือนกัน เพราะผู้เล่นจะถือว่าผู้ชมนั้นเป็นสิ่งสำคัญเพราะผู้เล่นเป็นคนให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และความผ่อนคลายแก่ผู้ชม ผู้เล่นจึงต้องมีอัธยาศัยที่ดีเพื่อเป็นการตอบแทนแก่ผู้ชมที่เขาให้ความสนใจและจะได้เป็นการดูที่ไม่มีการชกต่อยกันหรือด่าท้อกันในสนามแม้แต่ผู้เล่นเองนั้นก็ยังต้องเคารพกำเกณฑ์เหมือนกันเพราะไม่ฉะนั้นผู้เล่นอาจจะไดใบแดงจากกรรมการและกรรมการนั้นอาจจะไล่ผู้เล่นออกจากสนามได้และผู้เล่นในทีมก็อาจจะไม่ค่อยพอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย กีฬานั้นจะต้องมีกฎเกณฑ์และต้องมีการให้อภัยกันเสมอเพราะบ้างสิ่งนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่เราไม่ชอบ แล้วเขาทำลงไปโดยที่ไม่รู้ เพราะฉะนั้นถึงมีคำ คำนี้ขึ้นมาว่า “รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย” เพราะอย่างนี้เองทั้งผู้เล่นและผู้ชมก็ต้องเคารพกฎเกณฑ์เพื่อความสบายใจของผู้จัดที่อยากเห็นทุกคนมีความสุขไม่ใช่ความเสียใจที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ถ้ามีความเสียใจเกิดขึ้นมานั้นผู้จัดการแข่งขันอาจจะคิดที่จะไม่จัดการแข่งขันขึ้นมาอีกหรืองานต่างๆเพราะเขากลัวว่าอาจจะเกิดเรื่องที่ไม่ดีขึ้นมาอีก เพราะทางผู้จัดก็กลัวและเขาก็คิดว่าไม่อยากให้มีความเสียใจนั้นเกิดขึ้นมาอีกเหมือนกับทุกคน ผู้เล่นและผู้ชมนั้นควรให้ความเคารพกฎเกณฑ์เพื่อความสุขและความเพลิดเพลินของทุกฝ่าย
2.1เคารพคณะกรรมการ
2.2ให้เกียรติผู้เล่นในสนาม
2.3ให้เกียรติผู้ชมด้วย
2.4ควรดูด้วยความเพลิดเพลิน
2.5ไม่ควรด่าท้อทีมที่ไม่ชอบ
2.6เคารพกฎในสนาม
มารยาทของผู้ชมนั้นยังมีอีกมากมายแต่เรานั้นนำมารยาทบ้างสิ่งที่ผู้ชมควรรู้และทราบมาให้เพื่อความเป็นกันเองของผู้ชมและผู้เล่นที่มีให้ต่อกันนั้น จะเป็นสิ่งที่ดี เพื่อผู้ชมนั้นเคารพผู้เล่น ผู้เล่นก็จะเคารพผู้ชมเหมือนกัน เพราะผู้เล่นจะถือว่าผู้ชมนั้นเป็นสิ่งสำคัญเพราะผู้เล่นเป็นคนให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และความผ่อนคลายแก่ผู้ชม ผู้เล่นจึงต้องมีอัธยาศัยที่ดีเพื่อเป็นการตอบแทนแก่ผู้ชมที่เขาให้ความสนใจและจะได้เป็นการดูที่ไม่มีการชกต่อยกันหรือด่าท้อกันในสนามแม้แต่ผู้เล่นเองนั้นก็ยังต้องเคารพกำเกณฑ์เหมือนกันเพราะไม่ฉะนั้นผู้เล่นอาจจะไดใบแดงจากกรรมการและกรรมการนั้นอาจจะไล่ผู้เล่นออกจากสนามได้และผู้เล่นในทีมก็อาจจะไม่ค่อยพอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย กีฬานั้นจะต้องมีกฎเกณฑ์และต้องมีการให้อภัยกันเสมอเพราะบ้างสิ่งนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่เราไม่ชอบ แล้วเขาทำลงไปโดยที่ไม่รู้ เพราะฉะนั้นถึงมีคำ คำนี้ขึ้นมาว่า “รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย” เพราะอย่างนี้เองทั้งผู้เล่นและผู้ชมก็ต้องเคารพกฎเกณฑ์เพื่อความสบายใจของผู้จัดที่อยากเห็นทุกคนมีความสุขไม่ใช่ความเสียใจที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ถ้ามีความเสียใจเกิดขึ้นมานั้นผู้จัดการแข่งขันอาจจะคิดที่จะไม่จัดการแข่งขันขึ้นมาอีกหรืองานต่างๆเพราะเขากลัวว่าอาจจะเกิดเรื่องที่ไม่ดีขึ้นมาอีก เพราะทางผู้จัดก็กลัวและเขาก็คิดว่าไม่อยากให้มีความเสียใจนั้นเกิดขึ้นมาอีกเหมือนกับทุกคน ผู้เล่นและผู้ชมนั้นควรให้ความเคารพกฎเกณฑ์เพื่อความสุขและความเพลิดเพลินของทุกฝ่าย
Share this:
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)